วิถีชีวิต




วิถีชีวิตของชาวจังหวัดสตูล



           


             ลักษณะ ภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ ศาสนา ความเชื่อและสภาพสังคม ล้วนเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตของบุคคลในท้องถิ่น โดยเห็นได้จากวิถีชีวิตของชาวสตูลที่มีการประกอบอาชีพประมงเนื่องจากจังหวัด สตูลมีชายฝั่งทะเลที่อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำ มีการทำหัตถกรรมพื้นบ้านด้วยวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มีป่าไม้และทรัพยากรมาก มาย ลักษณะบ้านเรือนผสมผสานแบบบ้านเรือนท้องถิ่นภาคใต้และไทยมุสลิม และความเป็นอยู่ของชาวเลที่เป็นคนท้องถิ่นสตูลกลุ่มหนึ่งที่มีความเชื่อเป็น ของตนเอง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ชาวสตูลการทำประมงการทำประมงของชาวสตูล
จังหวัด สตูลมีพื้นที่ชายฝั่งยาว 144.80 กิโลเมตร มีพื้นที่ทำการประมงประมาณ 434 ตารามกิโลเมตร ระชากรประกอบอาชีพประมงประมาณ 4,675 ครัวเรือน ชาวประมงเหล่านี้ได้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้สำหรับประกอบอาชีพอันแสดงให้ เห็นถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างชัดเจน ได้แก่
เบ็ด เป็นเครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่ง มีหลายลักษณะได้แก่
เบ็ดราว มีเชือกขึงติดกับเสาทั้งสองด้านหรือมีเสาด้านเดียว โดยมีเบ็ดผูกไว้เป็นช่วงสั้น ๆ จนหมดสายเชือก และมีเหยื่อเกี่ยวไว้ที่ตัวเบ็ดทิ้งไว้ 6 – 12 ชั่วโมงจึงไปกู้หรือเก็บปลาที่ติดเบ็ด
เบ็ดทง เป็นชื่อเรียกอุปกรณ์จับปลาชนิดหนึ่ง โดยใช้ไม้ไผ่เหลาเป็นคันเบ็ดมีเชือกและตัวเบ็ดผูกไว้ปลายเบ็ด ซึ่งสามารถไหวตัวอ่อนไปมาได้ใช้จับปลาได้ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม เหยื่อที่ใช้ คือ ลูกปลาหรือปลาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ปุนปน (กิ้งกือ) ปลาหมึก ไส้เดือน กบ เขียด ฯลฯ
เบ็ดซัดประกอบ ด้วยตัวเบ็ดซึ่งผูกติดกับเชือกเอ็น ยาวประมาณ 30 – 50 เมตร วิธีการใช้ นำเหยื่อมาเกี่ยวกับตัวเบ็ดและขว้างลงไปในแม่น้ำลำคลอง โดยใช้ปลายเชือกผูกติดกับกับหลักหรือเสา

ส้อน เป็นเครื่องมือดักสัตว์น้ำ มีลักษณะทำจากซี่ไม้ไผ่ หรือทางกะพ้อ หรือทางจาก ยึดด้วยเชือกหรือหวายเป็นทรงกระบอก รูปทรงคล้ายไซ แต่ขนาดเล็กกว่า และใช้ดักปลาตรงที่มีน้ำไหล เช่น คู หรือร่องน้ำหรือบริเวณคันนา

โป๊ะ เป็นการจับปลาอีกวิธีหนึ่ง โดยใช้ไม้ไผ่กั้นเป็นคอก เปิดช่องทางให้ปลาไหลเข้าไปแล้วใช้อวนดัก เป็นวิธีการที่อาศัยธรรมชาติของลม เมื่อลมพัดทำให้เกิดคลื่น คลื่นทำให้ไม้ไผ่ที่ปักไว้เป็นคอกดักปลานั้นเกิดการสั่นไหว ปลาเห็นแสงและเงาของไม้ไผ่เกิดความกลัวและหลงกล จึงว่ายไปตามช่องทางของโป๊ะที่เปิดไว้ ปลาก็จะเข้าไปติดอวน การสังเกตธรรมชาติทำให้มนุษย์เกิดภูมิปัญญาใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพอีก วิธีหนึ่ง นอกจากนี้ชาวประมงในจังหวัดสตูลยังได้มีการพัฒนาวิธีการเลี้ยงปลาในกระชัง ซึ่งนับเป็นแนวทางที่สร้างรายได้แก่ชาวประมงอีกทางหนึ่ง

การทำภาชนะดินเผาที่อำเภอควนโดน
การ ทำภาชนะดินเผา ที่กลุ่มเครื่องปั้นดินเผา เลขที่ 9 ถ. วิเศษมยุรา อ. เมือง จ. สตูล มีขั้นตอน และ วิธีการทำภาชนะดินเผา ตั้งแต่ การนวด ดิน การตีดินเพื่อขึ้นรูป และการปั้นตกแต่งดินให้ได้รูปภาชนะตามต้องการ รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ ในการทำภาชนะดินเผา เป็นโครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ มีการส่งขายต่างประเทศด้วย


การทำฝาขัดแตะฝาขัดแตะ เป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่ได้รับเข้าเป็นโครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ ที่ “บ้านค่ายรวมมิตร” อ. ควนกาหลง การทำฝาขัดแตะจัดเป็นการจักสานที่ต้องอาศัยความประณีตบรรจง เพราะนอกจากจะเป็นเรื่องของความแข็งแรงทนทานแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความสวยงามอีกด้วย วัสดุที่สำคัญ คือ ไม้ไผ่ ไม้ไผ่ที่นิยมกันมากคือ ไม้ไผ่ผาก มีลักษณะลำต้นสูง สีเขียวไม่มีหนาม ลำต้นโตที่สุดมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 นิ้ว

การทำซี่ไม้ไผ
นำไม้ไผ่ที่เตรียมมาผ่าเป็นซี่ ๆ ขนาดประมาณ 2 ซม. ไม้ไผ่ 1 ท่อน จะผ่าออกได้ 12 ซี่ วิธีผ่าใช้เครื่องมือสำหรับผ่าไม้ไผ่ เรียกว่า “จำปา” มีลักษณะเป็นรูปกลมเรียงใบมีดเป็นยอดแหลมเหมือนกรวย ระยะของใบมีดมีความกว้างกำหนดไว้ตายตัวคือ ประมาณ 2 ซม. ตามขนาดที่ต้องการหลังจากนั้นนำไม้ไผ่มาเหลาข้อออกและผ่าออกเป็น 2 ซีก ด้านที่อยู่ข้างนอกติดผิวมันมีความแข็งแรงและสวยงาม เรียกว่า “หลังไม้ไผ่” ส่วนซีกที่อยู่ด้านในเรียกว่า “หน้าไม้ไผ่”เวลาสานต้องนำทั้ง 2 ส่วนมาสลับกันจะเห็นลายชัดเจนมาก
การสาน เมื่อ เตรียมวัสดุพร้อมแล้วผู้สานต้องอาศัยความรู้ และความชำนาญ ในการเลือก “ลาย” และการสาน จึงจะได้งานที่มีความแข็งแรงสวยงาม ลายที่เป็นที่นิยมกัน คือ ลายลูกแก้ว และลายปีกเหยี่ยว เพราะมีความสวยงามและคงทนมาก ใช้ทำฝาบ้าน นำไปตกแต่งอาคาร เช่น ผนังห้องประชุม ทำฝ้าเพดาน เป็นต้น การทำฝาไม้ไผ่ในจังหวัดสตูล สามารถทำเป็นอาชีพได้เป็นอย่างดี เพราะนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งภายในจังหวัดสตูล จังหวัดใกล้เคียง และประเทศเพื่อนบ้าน คือ ประเทศ มาเลเซีย และสิงคโปร์

ซา ไก เงาะ หรือ ชาวป่า เป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในป่าเขตพื้นที่ อ.ทุ่งหว้า และ อ.ควนโดน กลุ่มคนพวกนี้จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มและเดินทางเร่ร่อนไปถึงสมาพันธรัฐ มาเลเซีย ชนเผ่าซาไก จัดอยู่ในกลุ่มนิกริโต รูปพรรณสัณฐานทั่วไปค่อนข้างเตี้ย สูงประมาณ 140 – 150 เซนติเมตร หญิงเตี้ยกว่าชาย ผิวเนื้อดำไปทางค่อนข้างสีน้ำตาล กระโหลกศีรษะค่อนข้างกว้าง ผมสีดำหยิก ขมวดกลม เป็นก้นหอย ติดหนังศีรษะหรือหยิกฟูเป็นกระเซิง คิ้วโตดกหนา นัยน์ตาสีดำกลมโต ขนตายาวงอน จมูกแบน ปากกว้าง ริมฝีปากหนา ฟันซี่โต ใบหูเล็ก ท้องป่อง สะโพกแฟบ นิ้วมือ นิ้วเท้าใหญ่ ปัจจุบันซาไกเหลืออยู่เพียง 2 - 3 กลุ่ม เท่านั้น

ภาษาของชาวซาไกเป็น ภาษาตระกูลคำโดดเช่นเดียวกับภาษาดั้งเดิม สามารถแบ่งกลุ่มได้เป็นสี่ภาษา ได้แก่ กลุ่มแต็นแอ๊น กลุ่มกันซิว กลุ่มแตะเด๊ะ และกลุ่มยะฮายย์ ซึ่งต่างก็มีระบบเสียงคล้ายคลึงกัน มีเฉพาะหน่วยเสียงกับพยัญชนะ ไม่มีระดับเสียงสูงต่ำ และมีจำนวนคำ ที่ค่อนข้างจำกัด เมื่อนำมาผูกเป็นประโยค ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงพจน์ หรือกาลแต่อย่างใด ถ้าจดคำได้มากก็จะเรียนพูดได้เร็ว ในปัจจุบัน ซาไกได้มีการติดต่อกับโลกภายนอกมากยิ่งขึ้นจึงได้มีการยืมคำจากภาษาอื่น ๆ มาใช้ด้วย

ลักษณะอุปนิสัยของชาวซาไกโดย ปกติจะมีความร่าเริง ชอบความสนุกสนาน ชอบเสียงดนตรี กลัวผี กินเก่ง กินจุ ถ้ามีอาหารอยู่ในมือเหลือเฟือก็จะกินตลอดเวลา ถ้าไม่มีอะไรกินก็ยอมอด มีนิสัยคล้าย ๆ คนเกียจคร้าน ไม่ชอบกักตุน สะสมอาหาร ซาไกผู้ชายชอบสีขาว ส่วนผู้หญิงชอบสีแดง เราจึงมักเห็นซาไกผู้ชายนุ่งผ้าสีแดง ชาวซาไกไม่ชอบอาบน้ำเพราะเชี่อว่าการอาบน้ำชำระร่างกาย จะทำให้กลิ่นป่าหายไปการออกล่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหารจะไม่ได้ผล ชาวซาไกมีความจำดีช่างสังเกต ชำนาญในการบุกป่าและวิ่งเร็ว

เครื่องนุ่งห่มซา ไกในสมัยก่อนจะแต่งกายด้วยการนุ่งห่มใบไม้เปลือกไม้โดยการนำมาผู้ร้อยเข้า ด้วยกัน และนุ่งสั้นแค่เข่า ผู้ชายเปลือยท่อนบน ปกปิดเฉพาะท่อนล่าง ผู้หญิงจะใช้ใบไม้ปิดหน้าอก หรือบางทีก็เปลือยอก ส่วนเด็กจะไม่นุ่งห่มอะไรเลย จนเมื่อได้ติดต่อกับชาวบ้านหรือคนเมืองมาก ขึ้นจึงเริ่มปรับเปลี่ยนมาเป็นนุ่งกางเกง กระโปรง สวมรองเท้า แว่นตา เป็นต้น

ชาวซาไกเป็นพวกเร่ร่อนไม่ มีที่อยู่อาศัยแน่นอน โดยมากจะอยู่กันเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 20 – 30 คน มักเลือกทำเลสูง ๆ เป็นที่อยู่อาศัย อยู่ใกล้แหล่งน้ำ เมื่อเลือกทำเลได้เหมาะสมกับความต้องการแล้ว จะแผ้วถางบริเวณที่อยู่ที่เรียกว่าทับ ให้โล่งเตียน ทับสร้างขึ้นโดยใช้กิ่งไม้ง่ามเป็นตอม่อ ยกแคร่ขึ้นสูงจากพื้นดิน 1 ศอก แคร่กว้าง 1 ศอกเช่นกัน ถ้าเป็นโสดจะมีแคร่เดียว ถ้าเป็นคู่ สามีภรรยาจะมี 2 แคร่อยู่ใกล้กัน โดยเว้นที่ตรงกลางไว้ หลังคาสร้างแบบเพิงหมาแหงน ใช้เสาสี่ต้น เสาสองต้นหน้าสูงระดับศีรษะ ส่วนสองต้นหลังสูงจากพื้นดินเล็กน้อย ใช้เชือกผู้โครงหลังคา นำใบไม้มามุงแบบง่าย ๆ กันได้เฉพาะแดด ดังนั้น เมื่อถึงฤดูซาไก จะไปอาศัยอยู่ตามเพิงผงโพรงถ้ำต่าง ๆ ซาไกจะหาอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น เผือก มัน ผลไม้ ยอดไม้ ใบไม้ที่กินได้ทุกชนิด รวมถึงอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ เช่น ค่าง กวาง เก้ง นก หมูป่า ฯลฯ แต่งดการกินเนื้อ ได้แก่ ช้าง เสือ และงู เมื่อล่าสัตว์มาทุกครั้งจะทำพิธีถอนรังควาญทุกครั้ง เพราะเชื่อว่าสัตว์ ทุกชนิดจะมีวิญญาณสิงอยู่ หากไม่ปัดรังควานวิญญาณของสัตว์อาจจะเข้าสิงร่างกายของผู้ล่าภายหลังได้

ลักษณะสังคมของซาไกจะ มีการเลือกหัวหน้าขึ้นปกครองดูแล เมื่อหัวหน้าตายลงจะต้องมีการเลือกกันใหม่ ระบบครอบครัวของชาวซาไก นับว่ามีความมั่นคง คู่สามีภรรยาจะอยู่ด้วยกันโดยไม่มีการหย่าร้าง ชายและหญิงที่เป็นเครือญาติกันจะห้ามแต่งงานกันโดยเด็ดขาด สามีทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลรักษาภรรยาและบุตร โดยการไปหาอาหารมาให้ ลักษณะสังคมของซาไกจึงคล้ายเป็นสังคมปิด ที่สามีให้ ภรรยาเป็นช้างเท้าหลัง




อ้างอิง   http://bas5557.blogspot.com/2015/08/blog-post.html

4 ความคิดเห็น:

หน้าแรก

ความเป็นมาของอุทยานธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี เริ่มดำเนินงานด้านการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยาและการจัดตั้งอุทยานธรณีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ...